การออกแบบการเรียนการสอน (ID) เกิดจากการใช้กระบวนการของวิธีระบบ (system approach) ในการฝึกทหารของกองทัพบกอเมริกันในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยมีความเชื่อว่า การเรียนรู้ใด ๆ ไม่ควรจะเกิดอย่างบังเอิญ แต่ควรเกิดจากการพัฒนาสิ่งต่าง ๆ อย่างเหมาะสม มีกระบวนการ มีขั้นตอน และสามารถวัดผลจากการเรียนรู้ได้อย่างชัดเจน
ในการออกแบบการเรียนการสอนต้องอาศัยความรู้ศาสตร์ สาขาต่าง ๆ อันได้แก่ จิตวิทยาการศึกษา การสื่อความหมาย การศึกษาศาสตร์ทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามาร่วม
ความหมายของการออกแบบการเรียนการสอน
การออกแบบการเรียนการสอน คือ ศาสตร์ (Science) ในการกำหนดรายละเอียด รายการต่าง ๆ เพื่อพัฒนา การประเมินและการทำนุบำรุงรักษาให้คงไว้ของสภาวะต่าง ๆ เพื่อทำให้เกิดการเรียนรู้ ทั้งในเนื้อหาจำนวนมาก หรือเนื้อหาสั้น ๆ (Richey, 1986)
การออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional System design) มีชื่อเรียกหลากหลาย เช่น การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional design) การออกแบบและพัฒนาการสอน (Instructional design and development) เป็นต้น ไม่ว่าชื่อจะมีความหลากหลายเพียงใด แต่ชื่อเหล่านั้นก็มากจากต้นตอเดียวกัน คือมาจากแนวคิดในการใช้กระบวนการของวิธีระบบ (system approach)
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับระบบ
ในการดำเนินงานใด ๆ ก็ตาม ผู้รับผิดชอบจะต้องคำถึงถึงประสิทธิผล (Effectiveness) และประสิทธิภาพ (efficiency) ในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพนั้นมักจะนำแนวคิดของระบบ (system) มาใช้ ทั้งนี้เพราะระบบจะประกอบด้วยวิธีการที่จะทำให้เราได้หลักการและกระบวนการใน การทำงานเนื่องจากระบบจะมีกลไกในการปรับปรุง แก้ไข การทำงานในตัวเองของมันเอง โดยการใช้ข้อมูลป้อนกลับ (feedback) ทั้งนี้ถ้าเราเข้าใจระบบเราก็สามารถนำแนวความคิดไปประยุกต์ใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ได้
ความหมายของระบบ
มีผู้ให้ความหมายขอคำว่า “ระบบ” (system) ไว้หลายคน เช่น บานาธี่ (Banathy, 1968) หรือ วอง (Wong, 1971)
บานาธี่ ได้ให้ความหมายของคำว่าระบบว่า “ระบบ หมายถึงองค์ประกอบต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน มีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งองค์ประกอบทั้งหลายเหล่านี้จะร่วมกันทำงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อ ให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้” ความหมายของระบบตามแนวทางของวองก็จะมีลักษณะแนวทางใกล้เคียงกับของบานาธี่ โดยวองให้ความหมายของระบบวา “ระบบ หมายถึง การรวมกลุ่มของส่วนประกอบต่างๆ ที่มีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน ทั้งนี้เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้”
จากความหมายข้างต้น สามารถสรุปได้ว่าระบบจะต้องมี
องค์ประกอบ
องค์ประกอบนั้นต้องมีความสัมพันธ์ มีการโต้ตอบ มีปฏิสัมพันธ์กันและ
ระบบต้องมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมนั้น ๆ
ลักษณะของระบบที่ดี
ระบบที่ต้องสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Efficiency) และมีความยั่งยืน (sustainable) การมีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน ระบบนั้นจะต้องมีลักษณะ 4 ประการคือ
มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม (interact with environment)
มีจุดหมายหรือเป้าประสงค์ (purpose)
มีการรักษาสภาพตนเอง (self – regulation)
มีการแก้ไขตนเอง (self – correction)
มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
ระบบทุก ๆ ระบบจะมีปฏิสัมพันธ์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งกับโลกรอบๆ ตัวของระบบ โลกรอบ ๆ ตัวนี้
เรียกว่า “สิ่งแวดล้อม” การที่ระบบมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมนี้เองทำให้ระบบดังกล่าวกลายเป็นระบบ เปิด (open system) กล่าวคือ ระบบจะรับปัจจัยนำเข้า (inputs) จากสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจจะเป็นพลังงาน อาหาร ข้อมูล ฯลฯ ระบบจะจัดกระทำเปลี่ยนแปลงปัจจัยนำเข้านี้ให้เป็นผลผลิต (outputs) แล้วส่งกลับไปให้สิ่งแวดล้อมอีกทีหนึ่ง
จากภาพ แสดงให้เห็นได้ว่าระบบมีการแลกเปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ (สิ่งนำเข้าและผลผลิต) กับสิ่งแวดล้อม การแลกเปลี่ยนจะเป็นไปอย่างต่อเนื่องเสมอต้นเสมอปลาย ในเรื่องสิ่งแวดล้อมของระบบนี้จะกล่าวถึงอย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่งในบทต่อ ไป
มีจุดมุ่งหมายหรือเป้าประสงค์
ระบบจะต้องมีจุดมุ่งหมายที่ชัดเจนแน่นอนสำหรับตัวของมันเอง ระบบที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น ระบบการดำเนินชีวิตของมนุษย์นั้นก็มีจุดมุ่งหมายสำหรับตัวของระบบเองอย่าง ชัดเจนว่า “เพื่อรักษาสภาพการมีชีวิตไว้ให้ดีที่สุด” จุดมุ่งหมายนี้ดูออกจะไม่เด่นชัดสำหรับเรานักเพราะเราไม่ใช่ผู้คิดสร้างระบบ ดังกล่าวขึ้นมาเอง ลองดูตัวอย่างอีกตัวอย่าง คือ ระบบของรถยนต์โดยสารส่วนตัว ระบบดังกล่าวเป็นระบบที่มนุษย์สร้างขึ้น ซึ่งมีจุดมุ่งหมายคือ เป็นยานพาหนะที่อำนวยความสะดวกสบายแก่มนุษย์ในเรื่องของความรวดเร็ว การทุ่นแรง
สามารถรักษาสภาพตัวเองได้
ลักษณะที่สามของระบบ คือ การที่ระบบสามารถรักษาสภาพของตัวมันเองให้อยู่ในลักษณะที่มั่นคงอยู่เสมอ การรักษาสภาพตนเองทำได้โดยการแลกเปลี่ยนอินพุทและอาท์พุทกันระหว่างองค์ ประกอบต่าง ๆ ของระบบ หรือระบบย่อย ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจน คือ ระบบย่อยอาหารของร่างกายมนุษย์ ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบย่อยๆ หรือระบบย่อยต่าง ๆ เช่น ปาก น้ำย่อย น้ำดี หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ ฯลฯ
ระบบการย่อยอาหารของคน ซึ่งประกอบด้วย องค์ประกอบย่อย ๆ (ระบบย่อย) หลายองค์ประกอบด้วยกัน การที่ระบบการย่อยอาหารจะทำงานได้ดี และรักษาสภาพการย่อยอาหารให้ทำงานได้สมบูรณ์ตลอดไปนั้น องค์ประกอบต่าง ๆ ต้องทำงานตามหน้าที่ของมัน และต้องทำงานให้สัมพันธ์กับองค์ประกอบอื่น ๆ อีกด้วย เฉพาะการทำงานของปาก ลิ้น และฟันจะต้องมีความสัมพันธ์กันอย่างดี ในขณะเคี้ยวอาหาร การที่ฟันไม่เคี้ยวลิ้นในขณะเคี้ยวอาหารนั้นก็เกิดจาการทำงานประสานอย่างดี นั่นเอง
วิธีระบบ (System approach)
วิธีระบบ คือแนวทางในการพิจารณาและแก้ไขปัญหา ซึ่งแนวทางดังกล่าวถูกสร้างขึ้นมาเพื่อให้มีความผิดพลาดน้อยที่สุด ขณะเดียวกันก็พยายามใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่าที่สุด (Allen, Joseph and Lientz, Bennet p. 1978)
ในปัจจุบันจะพบว่า วิธีระบบนั้นถูกนำไปใช้ในด้านต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง วิธีระบบจะเป็นตัวจัดโครงร่าง (Skeleton) และกรอบของงานเพื่อให้ง่ายต่อการที่จะนำเทคนิค วิธีการแก้ปัญหาต่าง ๆ มาใช้ การทำงานของวิธีระบบจะเป็นการทำงานตามขั้นตอน (step by step) ตามแนวของตรรกศาสตร์ ผู้ใช้วิธีระบบจะต้องเชื่อว่า “ระบบ” ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน (interrelated parts) และเชื่อว่าประสิทธิผล (effectiveness) ของระบบนั้นจะต้องดูจากผลการทำงานของระบบมิได้ดูจากการทำงานของระบบย่อย แต่ละระบบ
จากวิธีระบบสู่ระบบการเรียนการสอน
แนวคิดของวิธีระบบ ถือได้ว่าเป็นรากฐานของระบบการเรียนการสอน โดยเฉพาะความเชื่อที่ว่า ระบบจะประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ทำงานสัมพันธ์กัน และระบบสามารถปรับปรุง ปรับทิศทางของตนเองได้ จากการตรวจสอบจากข้อมูลป้อนกลับ (Feedback)
วิธีระบบถูกนำมาใช้ในระบบการศึกษาและได้รับการพัฒนา ปรับปรุงขึ้นเป็นลำดับ โดยได้มีผู้พัฒนารูปแบบการสอน (Model) ขึ้นหลากหลายรูปแบบ รูปแบบเหล่านี้เรียกชื่อว่า ระบบการออกแบบการเรียนการสอน (instructional design systems) หรือเรียกสั้นลงไปอีกว่า การออกแบบการเรียนการสอน (instructional design) การออกแบบการเรียนการสอนจะประกอบด้วยองค์ประกอบที่เป็นขั้นตอนต่าง ๆ ที่อาศัยหลักการและทฤษฎีสนับสนุนจากองค์ความรู้และการวิจัยทางการศึกษาจนถึง ปัจจุบันนักการศึกษาได้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอน (Instructional model) ขึ้นมากกว่า 50 รูปแบบ รูปแบบเหล่านี้ได้รับการตรวจสอบ ทดสอบ และการปรับปรุงมาแล้วก่อนที่จะเป็นรูปแบบที่สมบูรณ์ที่เชื่อได้ว่า ถ้านำไปใช้แล้วจะทำให้ประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการสอนอย่างสูงสุด ประสิทธิผลและประสิทธิภาพนี้จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนไม่ว่าจะใช้กับจุดมุ่ง หมายในการสอนลักษณะใด ผู้เรียนที่แตกต่างกันเพียงไร สถานการณ์สิ่งแวดล้อมหรือสื่อการสอนที่แตกต่างกันออกไป รูปแบบอันหลากหลายนี้จะมีความแตกต่างกันออกไปในรายละเอียด แต่เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วจะเห็นว่า ความแตกต่างนั้นมีไม่มากนัก รูปแบบการเรียนการสอนนี้สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนหรือการฝึกอบรม ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องของการเรียนการสอนโดยตรง เช่น สามารถนำไปใช้ในโรงงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ใช้ในโรงพยาบาล สถานีตำรวจ ธนาคารหรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง กับการให้ความรู้ การเปลี่ยนทัศนคติ หรือการฝึกทักษะต่าง ๆ
จากวิธีระบบสู่ระบบการเรียนการสอน
แนวคิดของวิธีระบบ ถือได้ว่าเป็นรากฐานของระบบการเรียนการสอน โดยเฉพาะความเชื่อที่ว่า ระบบจะประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ทำงานสัมพันธ์กัน และระบบสามารถปรับปรุง ปรับทิศทางของตนเองได้ จากการตรวจสอบจากข้อมูลป้อนกลับ (Feedback)
วิธีระบบถูกนำมาใช้ในระบบการศึกษาและได้รับการพัฒนา ปรับปรุงขึ้นเป็นลำดับ โดยได้มีผู้พัฒนารูปแบบการสอน (Model) ขึ้นหลากหลายรูปแบบ รูปแบบเหล่านี้เรียกชื่อว่า ระบบการออกแบบการเรียนการสอน (instructional design systems) หรือเรียกสั้นลงไปอีกว่า การออกแบบการเรียนการสอน (instructional design) การออกแบบการเรียนการสอนจะประกอบด้วยองค์ประกอบที่เป็นขั้นตอนต่าง ๆ ที่อาศัยหลักการและทฤษฎีสนับสนุนจากองค์ความรู้และการวิจัยทางการศึกษาจนถึง ปัจจุบันนักการศึกษาได้พัฒนารูปแบบการเรียนการสอน (Instructional model) ขึ้นมากกว่า 50 รูปแบบ รูปแบบเหล่านี้ได้รับการตรวจสอบ ทดสอบ และการปรับปรุงมาแล้วก่อนที่จะเป็นรูปแบบที่สมบูรณ์ที่เชื่อได้ว่า ถ้านำไปใช้แล้วจะทำให้ประสิทธิผลและประสิทธิภาพในการสอนอย่างสูงสุด ประสิทธิผลและประสิทธิภาพนี้จะเกิดขึ้นอย่างแน่นอนไม่ว่าจะใช้กับจุดมุ่ง หมายในการสอนลักษณะใด ผู้เรียนที่แตกต่างกันเพียงไร สถานการณ์สิ่งแวดล้อมหรือสื่อการสอนที่แตกต่างกันออกไป รูปแบบอันหลากหลายนี้จะมีความแตกต่างกันออกไปในรายละเอียด แต่เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วจะเห็นว่า ความแตกต่างนั้นมีไม่มากนัก รูปแบบการเรียนการสอนนี้สามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนหรือการฝึกอบรม ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องของการเรียนการสอนโดยตรง เช่น สามารถนำไปใช้ในโรงงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ใช้ในโรงพยาบาล สถานีตำรวจ ธนาคารหรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง กับการให้ความรู้ การเปลี่ยนทัศนคติ หรือการฝึกทักษะต่าง ๆ
การออกแบบการเรียนการสอนไม่ใช่การสร้างระบบใหม่
กิจกรรมการออกแบบการเรียนการสอน (instructional design) นั้นไม่ใช่กิจกรรมการออกแบบและสร้างระบบการสอนขึ้นใหม่ แต่เป็นกระบวนการนำรูปแบบ (model) ที่มีผู้คิดสร้างไว้แล้วมาใช้ตามขั้นตอน (step) ต่าง ๆ ที่เจ้าของรูปแบบนั้นกำหนดไว้อาจจะมีคำถามว่า ถ้าไม่ได้ออกแบบระบบเอง ทำไมจึงใช้คำว่า “ ออกแบบการเรียนการสอน” คำตอบที่ชัดเจนก็คือ ผู้ใช้รูปแบบ (model) ของการสอนนั้นจำเป็นต้องออกแบบตามขั้นตอนต่าง ๆ ของรูปแบบนั้น ๆ ทั้งนี้เนื่องจากรูปแบบ (model) ที่มีผู้สร้างไว้ให้นั้นเป็นเพียงกรอบและแนวทางในการดำเนินงานเท่านั้น รายละเอียดต่างๆ ภายในขั้นตอนจะแตกต่างกันออกไปตามสภาพปัญหา จุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน ลักษณะของผู้เรียน และเงื่อนไขต่าง ๆ
การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional design)
จากที่กล่าวมาในตอนต้น ๆ ทำให้ทราบความเป็นมาของระบบการสอนรวมถึงคำว่า “ระบบ” ว่าเป็นอย่างไร และปรับเปลี่ยนดัดแปลงการออกแบบการเรียนการสอนด้วยเหตุใด ต่อไปนี้จะกล่าวถึงรายละเอียดของการออกแบบการเรียนการสอน โดยจะเริ่มจากความเป็นมา ความหมาย ระดับของการออกแบ องค์ประกอบ รูปแบบของการออกแบบการเรียนการสอน และสุดท้ายคือ กระบวนการขั้นตอนการออกแบบการเรียนการสอน
ปัญหาในระบบการเรียนการสอน
เป้าหมายหลักของครูหรือนักฝึกอบรมในการสอน คือการช่วยให้ผู้เขียนหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้ และในการช่วยให้เกิดการเรียนรู้นี้มีปัญหาหลัก ๆ อยู่หลายประการที่ผู้ออกแบบการเรียนการสอนจะต้องตระหนักและพยายามหลีกเลี่ยง ปัญหาดังกล่าวคือ
ปัญหาด้านทิศทาง (Direction)
ปัญหาด้านการวัดผล (Evaluation)
ปัญหาด้านเนื้อหาและการลำดับเนื้อหา (Content and Sequence)
ปัญหาด้านวิธีการ (Method)
ปัญหาข้อจำกัดต่าง ๆ (Constraint)
ปัญหาด้านทิศทาง
ปัญหาด้านทิศทางของผู้เรียนก็คือ ผู้เรียนไม่ทราบว่าจะเรียนไปเพื่ออะไร ไม่รู้ว่าจะต้องเรียนอะไร
ต้องสนใจจุดไหน สรุปแล้วพูดไว้ว่าเป็นปัญหาด้านจุดมุ่งหมาย
ปัญหาด้านการวัดผล
ปัญหาการวัดผลนี้จะเกิดขึ้นกับทั้งผู้สอนและผู้เรียน ผู้สอนจะมีปัญหา เช่น จะรู้ได้อย่างไรว่าผู้เรียนของตนเกิดการเรียนรู้หรือไม่ จะรู้ได้อย่างไรว่าวิธีการที่ตนใช้อยู่นั้นใช้ได้ผลดี ถ้าจะปรับปรุงเนื้อหาที่สอนจะปรับปรุงตรงไหน จะให้คะแนนอย่างยุติธรรมได้อย่างไร
ปัญหาของผู้เรียนเกี่ยวกับการวัดผลอาจเป็น ฉันเรียนรู้อะไรบ้างจากสิ่งนี้ ข้อสอบยากเกินไป ข้อสอบกำกวม อื่น ๆ
ปัญหาด้านเนื้อหา และการลำดับเนื้อหา
ปัญหานี้เกิดขึ้นกับครูและผู้เรียนเช่นเดี่ยวกัน ในส่วนของครูอาจจะสอนเนื้อหาที่ไม่ต่อเนื่องกัน เนื้อหายากเกินไป เนื้อหาไม่ตรงกับจุดมุ่งหมาย เนื้อหาไม่สัมพันธ์กัน และอื่น ๆ อีกมากมาย
ในส่วนของผู้เรียนก็จะเกิดปัญหาเช่นเดี่ยวกับที่กล่าวข้างต้นอันเป็นผลมาจากครู
อาจเป็นการสอนหรือวิธีการสอนของครูทำให้ผู้เรียนเบื่อหน่าย ไม่อยากเข้าห้องเรียน มีทัศนคติที่ไม่ดีต่อการเรียนสิ่งนั้น ๆ
หรือปัญหาการสอนที่ไม่สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่ตั้งเอาไว้ เช่น ตั้งเป้าหมายไว้ว่าให้ผู้เรียนสามารถใช้กล้องถ่ายวิดีโอได้อย่างชำนาญ แต่วิธีสอนกลับบรรยายให้ฟังเฉย ๆ และผู้เรียนไม่มีสิทธิจับกล้องเลย เป็นต้น
ปัญหาข้อจำจัดต่าง ๆ
ในการสอนหรือการฝึกอบรมนั้นต้องใช้แหล่งทรัพยากร 3 ลักษณะ คือ บุคลากร ครูผู้สอน และสถาบันต่าง ๆ
บุคลาการที่ว่านี้อาจจะเป็นวิทยากร ผู้ช่วยเหลือต่าง ๆ เช่น พนักงานพิมพ์ ผู้ควบคุมเครื่องไม้เครื่องมือ หรืออื่น ๆ
สถาบันต่าง ๆ หมายถึง แหล่งที่เป็นความรู้ แหล่งที่จะให้ความร่วมมือสนับสนุนต่าง ๆ อาจเป็นห้องสมุด หน่วยงานต่าง ๆ เป็นต้น
องค์ประกอบของการออกแบบการเรียนการสอน
ดังได้กล่าวข้างต้นว่า การออกแบบการเรียนการสอนให้หลักการแนวทางของระบบ ดังนั้นในการออกแบบการเรียนการสอนจึงประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ที่สัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ได้ และในกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนก็จะมีกลไกในการปรับปรุงแก้ไขตัวเอง อันได้แก่ กระบวนการใช้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) จากการประเมินผลที่เรียกว่า การประเมินผลเพื่อการปรับปรุง (formative evaluation)
เนื่องจากมีรูปแบบ (Model) สำหรับนำไปใช้ในการออกแบบการเรียนการสอนอยู่มากมายจึงมีความหลากหลายในองค์ ประกอบในรูปแบบนั้น ๆ แต่อย่างไรก็ตาม รูปแบบการเรียนการสอนใด ๆ ก็จะยึดแนวทางของรูปแบบดั้งเดิม (generic model)
รูปแบบดั้งเดิม (Generic model)
การวิเคราะห์ (Analysis)
การออกแบบ (Design)
การพัฒนา (Development)
การนำไปใช้ (Implementation)
การประเมินผล (Evaluation)
จากรูปแบบดังเดิม (Generic model) นี้จะมีผู้รู้ต่าง ๆ นำไปสังเคราะห์เป็นรูปแบบต่าง ๆ มากมาย ตามความเชื่อความต้องการของตน
รูปแบบต่าง ๆ ของการออกแบบการเรียนการสอน
ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างรูปแบบการเรียนการสอนที่มีผู้คิดสร้างขึ้นเพื่อให้ เห็นองค์ประกอบ รายละเอียดโดยสังเขปและความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ
รูปแบบการสอนของดิคค์และคาเรย์ (Dick and Carey model)
รูปแบบการสอน (Model) ของดิคค์และคาเรย์ ประกอบด้วยองค์ประกอบด้วย 10 ขั้นด้วยกัน คือ
การกำหนดเป้าหมายของการเรียนการสอน (Identify Instructional Goals)
ดำเนินการวิเคราะห์การเรียนการสอน (Conduct Instructional Analysis)
กำหนดพฤติกรรมก่อนเรียนและลักษณะผู้เรียน (Identify Entry Behaviors, Characteristics)
เขียนจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม (Write Performance Objective)
พัฒนาข้อสอบอิงเกณฑ์ (Develop Criterion - Referenced Test Items)
พัฒนายุทธวิธีการสอน (Develop Instructional Strategies)
พัฒนาและเลือกวัสดุการเรียนการสอน (Develop and Select Instructional Materials)
ออกแบบและดำเนินการประเมินเพื่อการปรับปรุง (Design and Conduct Formative Evaluation)
การปรับปรุงการสอน (Revise Instruction)
การออกแบบและดำเนินการประเมินระบบการสอน (Design and Conduct Summative E valuation)
ระบบการสอนของเกอร์ลาชและอีลาย (Ger lach and Ely Model)
เกอร์ลาชและอีลายเสนอรูปแบบการออกแบบการสอนประกอบด้วยองค์ประกอบ 10 อย่างด้วยกันคือ
การกำหนด เป็นการกำหนดว่าต้องการให้ผู้เรียนรู้อะไร แค่ไหน อย่างไร
การกำหนดเนื้อหา (Specify Content) เป็นการกำหนดว่าผู้เรียนต้องเรียนอะไรบ้างในอันที่จะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
การวิเคราะห์ประสบการณ์เดิมของผู้เรียน (Analyze Learner Background Knowledge) เพื่อทราบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียน
เลือกวิธีสอน (Select Teaching Method) ทำการเลือกวิธีสอนให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย
กำหนดขนาดของกลุ่ม (Determine Group Size) เลือกว่าจะสอนเป็นกลุ่มย่อยหรือกลุ่มใหญ่อย่างไร
กำหนดเวลา (Time Allocation) กำหนดว่าจะใช้เวลาในการสอนมากน้อยเพียงใด
กำหนดสถานที่ เครื่องอำนวยความสะดวก (Specify Setting and Facilities) กำหนดว่าจะสอนที่ไหน ต้องเตรียมอะไรบ้าง
เลือกแหล่งวิชาการ (Select Learning Resources) ต้องใช้สื่ออะไร อย่างไร
ประเมินผล (Evaluation) ดูว่าการสอนเป็นไปตามจุดมุ่งหมายหรือไม่
วิเคราะห์ข้อมูลป้อนกลับเพื่อการปรับปรุงแก้ไข (Analyze Feedback for Revision) เป็นการวิเคราะห์ว่าถ้าการสอนไม่ได้ผลตามจุดมุ่งหมายจะทำการปรับปรุงแก้ไข ตรงไหนอย่างไร
จากตัวอย่างรูปแบบระบบการสอนที่ยกมาจะเห็นว่าจะอยู่ในกรอบของรูปแบบดังเดิม (Generic model) ทั้งสิ้น
การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)
การวิเคราะห์ระบบ คือ กระบวนการศึกษาขอบข่าย (Network) ของปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ในระบบ เพื่อจะเสนอแนวทางในการดำเนินการเพื่อปรับปรุงการทำงานของระบบนั้น ๆ (Semprevivo , 1982)
ในการออกแบบการเรียนการสอนไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการสอนของใครก็ตาม จะมีกลไกหรือมี
ข้อมูลเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ระบบอยู่แล้ว ข้อมูลดังกล่าวคือ ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) ต่าง ๆ
การที่ระบบการสอนมีองค์ประกอบให้เห็นอย่างชัดเจนและแสดงความสัมพันธ์ขององค์ประกอบ
ต่าง ๆ อย่างชัดเจน จะช่วยให้ง่ายต่อการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ว่าปัญหาระบบเกิดจากอะไร
การดำเนินการวิเคราะห์ระบบในรูปแบบ (Model) การสอนต่าง ๆ นั้นทำได้ง่ายเพราะมีผู้จัดสร้างกลไกและจัดหาข้อมูลเตรียมไว้ให้แล้วแต่ถ้า จะดำเนินการวิเคราะห์ระบบอื่นใดที่นอกเหนือไปจากนี้แล้วกระบวนการคิด วิเคราะห์ก็จะต้องมีรายละเอียดและกระบวนการเพิ่มมากขึ้น ในที่นี้จะขอเสนอแนวทางในการวิเคราะห์ระบบสำหรับระบบโดยทั่ว ๆ ไปที่ไม่ใช่ระบบการเรียนการสอน ในการวิเคราะห์ระบบจะประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ เป็นวงจรชีวิต (Life cycle) ดังต่อไปนี้ คือ
การกำหนดปัญหา (Problem definition)
การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล (Data collection and analysis)
การวิเคราะห์ทางเลือกของระบบ (Analysis of system alternatives)
ศึกษาความเป็นไปได้ของทางเลือก (Determination 0f feasibility)
การพัฒนาแนวคิดเพื่อเสนอขอความคิดเห็น (Development 0f the systems proposal)
การพัฒนาและทดลองใช้ต้นแบบ (Pilot of prototype systems development)
การออกแบบระบบ (System design)
การพัฒนาโปรแกรม (Program development)
การนำระบบใหม่เข้าไปใช้ (System implementation)
การตรวจสอบและการประเมินระบบ (Systems implementation)
กิจกรรมทั้ง 10 นี้ ปกติแล้วจะไม่สามารถดำเนินการในลักษณะที่แยกออกจากกันอย่างเด็ดขาดได้ เพราะ ในลักษณะการทำงานจริง กิจกรรมเหล่านี้จะมี่ความเกี่ยวโยงกันจนแยกไม่ออกย้ำอีกครั้งหนึ่งว่า กระบวนการวิเคราะห์ระบบทั้ง10 นี้ ข้อที่กล่าวมาข้างต้นใช้สำหรับการวิเคราะห์ระบบที่นอกเหนือจากระบบการเรียน การสอน ทั้งนี้เนื่องจากระบบการเรียนการสอนนั้นได้สร้างกลไกและข้อมูลสำหรับตรวจสอบ แก้ไขระบบอยู่ในตัวแล้ว
การออกแบบการสอน (Instructional Design) เป็นการนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาใช้อย่างเป็นระบบเพื่อให้การออกแบบหรือการวางแผนการสอนมีประสิทธิภาพสูงสุด หลักการออกแบบการสอน (Instructional Design) เป็นสิ่งแนะนำ แนวทางสำ หรับครูผู้สอนหรือผู้ออกแบบการสอน (Instructional Designer)ให้ประสบผล สำเร็จในการออกแบบ และรู้แนวทางในการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อการวิจัย และสร้างเสริมประสบการณ์ ในการออกแบบการสอน (Instructional Design) เพื่อนำความรู้ที่มีอยู่อย่างหลากหลายไปสู่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การออกแบบการสอน (Instructional Design) เป็นทั้งกระบวนการสำหรับการจัดเตรียมโปรแกรมการสอนอย่างเป็นระบบและหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของบุคคล ทั้งกระบวนการ และหลักการดังกล่าวมาเป็นสิ่งที่
การออกแบบการสอน (Instructional Design) เป็นทั้งกระบวนการสำหรับการจัดเตรียมโปรแกรมการสอนอย่างเป็นระบบและหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของบุคคล ทั้งกระบวนการ และหลักการดังกล่าวมาเป็นสิ่งที่
จำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งในการออกแบบการสอน ซึ่งจะขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งไปไม่ได้
การออกแบบการเรียนรู้ เป็นการออกแบบที่มีเป้าหมายความเข้าใจในการเรียนรู้ ผู้ออกแบบหรือผู้สอนจึงต้องคิดอย่างนักประเมินผล ตระหนักถึงหลักฐานของความเข้าใจทั้ง 6 ด้าน ที่ชัดเจนและลึกซึ้ง โดยผู้เรียนสามารถอธิบาย แปลความ ในการนำไปประยุกต์ใช้ การออกแบบการเรียนรู้จึงเป็นการส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสามารถ ในการแสดงความสามารถการนำเสนอมุมมองได้อย่างหลากหลาย ดังนี้
1. ความสามารถในการอธิบาย ผู้เรียนสามารถอธิบาย ด้วยหลักการที่เป็นเหตุและผล อย่างเป็นระบบ
การประเมินผล ใช้วิธีการพูดคุยเพื่อประเมินเหตุผลจากการอธิบายของผู้เรียน การมอบหมายงานที่ใช้ทักษะการเขียน การเรียงความ หรือย่อความ การสอบถามถึงประเด็นที่ผู้เรียนมักสับสนหรือหลงประเด็น การให้ผู้เรียนสรุปประเด็นการเรียนรู้ และการสังเกตลักษณะคำถามที่ผู้เรียนสอบถาม
2. ความสามารถในการแปลความ ผู้เรียนสามารถแปลความได้ชัดเจน และตรงประเด็น
การประเมินผล ใช้วิธีการให้ผู้เรียนเขียนสะท้อนเรื่องราว แนวคิด หรือทฤษฎี เพื่อประเมินเกี่ยวกับการลำดับ ไล่เรียง และความชัดเจนของสาระเนื้อหา
3. ความสามารถในการประยุกต์ใช้ ผู้เรียนสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้อย่างถูกต้องและครอบคลุม
การประเมินผล ใช้วิธีการให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ที่กำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะ การให้ผู้เรียนประเมินหรือเขียนข้อมูลป้อนกลับจากการนำความรู้ไปใช้
4. ความสามารถในการมองมุมที่หลากหลาย ผู้เรียนสามารถเสนอมุมมองใหม่ ที่ทันสมัยและน่าเชื่อถือ
การประเมินผล ใช้วิธีการวิเคราะห์วิจารณ์ โดยให้ผู้เรียนเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย แนวทางในการคิด การมองจากสถานการณ์ตัวอย่าง
5. ความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น ผู้เรียนมีความพร้อมในการรับฟังและสนองตอบ
การประเมินผล ใช้วิธีการให้ผู้เรียนประเมินความสามารถในการสมมติ การเข้าไปนั่งในใจผู้อื่น
6. ความสามารถในการเข้าใจตนเอง ผู้เรียนมีความใส่ใจ พร้อมปรับตัวรับการเรียนรู้ใหม่ การประเมินผล ใช้วิธีการให้ผู้เรียนประเมินเปรียบเทียบผลงานของตัวเองแต่ละช่วงเวลา มีความรู้และเข้าใจมากขึ้นเพียงไร
การประเมินผล ใช้วิธีการพูดคุยเพื่อประเมินเหตุผลจากการอธิบายของผู้เรียน การมอบหมายงานที่ใช้ทักษะการเขียน การเรียงความ หรือย่อความ การสอบถามถึงประเด็นที่ผู้เรียนมักสับสนหรือหลงประเด็น การให้ผู้เรียนสรุปประเด็นการเรียนรู้ และการสังเกตลักษณะคำถามที่ผู้เรียนสอบถาม
2. ความสามารถในการแปลความ ผู้เรียนสามารถแปลความได้ชัดเจน และตรงประเด็น
การประเมินผล ใช้วิธีการให้ผู้เรียนเขียนสะท้อนเรื่องราว แนวคิด หรือทฤษฎี เพื่อประเมินเกี่ยวกับการลำดับ ไล่เรียง และความชัดเจนของสาระเนื้อหา
3. ความสามารถในการประยุกต์ใช้ ผู้เรียนสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้อย่างถูกต้องและครอบคลุม
การประเมินผล ใช้วิธีการให้ผู้เรียนนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์ที่กำหนดวัตถุประสงค์เฉพาะ การให้ผู้เรียนประเมินหรือเขียนข้อมูลป้อนกลับจากการนำความรู้ไปใช้
4. ความสามารถในการมองมุมที่หลากหลาย ผู้เรียนสามารถเสนอมุมมองใหม่ ที่ทันสมัยและน่าเชื่อถือ
การประเมินผล ใช้วิธีการวิเคราะห์วิจารณ์ โดยให้ผู้เรียนเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย แนวทางในการคิด การมองจากสถานการณ์ตัวอย่าง
5. ความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่น ผู้เรียนมีความพร้อมในการรับฟังและสนองตอบ
การประเมินผล ใช้วิธีการให้ผู้เรียนประเมินความสามารถในการสมมติ การเข้าไปนั่งในใจผู้อื่น
6. ความสามารถในการเข้าใจตนเอง ผู้เรียนมีความใส่ใจ พร้อมปรับตัวรับการเรียนรู้ใหม่ การประเมินผล ใช้วิธีการให้ผู้เรียนประเมินเปรียบเทียบผลงานของตัวเองแต่ละช่วงเวลา มีความรู้และเข้าใจมากขึ้นเพียงไร
ครูผู้สอน: WHERE: การออกแบบการเรียนรู้
W Where are we heading? เป้าหมายการเรียนรู้จะเป็นไปในทิศทางไหน
H Hook the student through provocative entry points ออกแบบการเรียนรู้ให้น่าสนใจเพื่อสร้างแรงจูงใจ
E Explore and Enable การคัดเลือกเนื้อหาที่ผ่านการวิเคราะห์ประเด็นแนวคิด ทฤษฎี และการนำไปใช้
R Reflection and Rethink การวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้และการสังเคราะห์ข้อสรุปจากเนื้อหาสาระ
E Exhibit and Evaluate การประเมินผลที่มีเป้าหมายชัดเจน เน้นสภาพความเป็นจริง
ครูผู้สอน: มิติการคิด: นักประเมินผลและนักออกแบกิจกรรม
การคิดอย่างนักประเมินผล
|
การคิดอย่างนักออกแบกิจกรรม
| ||||||
อะไรคือหลักฐานการเรียนรู้ที่เพียงพอและชัดเจน
|
กิจกรรมอะไรทำให้ผู้เรียนเข้าใจและติดตาม
| ||||||
อะไรคือจุดเน้นของการเรียนการสอน
|
จะใช้สื่ออุปกรณ์ชนิดใดสำหรับหัวข้อนี้
| ||||||
อะไรคือจุดจำแนกผู้เรียนที่รู้และไม่รู้
|
จะกำหนดกิจกรรมและโครงการอย่างไร
| ||||||
อะไรคือเกณฑ์ในการตัดสินงาน
|
จะให้คะแนนและชี้แจงประเมินผลอย่างไร
| ||||||
จะตรวจสอบความเข้าใจผิดของผู้เรียนได้อย่างไร
|
กิจกรรมที่ไม่ได้ผล เป็นเพราะอะไร
| ||||||
| |||||||
การออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional System design) มีชื่อเรียกหลากหลาย เช่น การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional design) การออกแบบและพัฒนาการสอน (Instructional design and development) เป็นต้น ไม่ว่าชื่อจะมีความหลากหลายเพียงใด แต่ชื่อเหล่านั้นก็มากจากต้นตอเดียวกัน คือมาจากแนวคิดในการใช้กระบวนการของวิธีระบบ (system approach)โครงสร้างของเนื้อหา
.....เนื้อหาบทเรียนที่เราจะนำมาออกแบบการสอนแต่ละเนื้อหาจะมีโครงสร้างแตกต่างกัน ซึ่งลักษณะโครงสร้างของเนื้อหานี้
จะมีส่วนสำคัญที่กำหนดให้เส้นทางการจัดการเรียนรู้ดำเนินไปในรูปแบบใดในที่นี้ผู้จัดทำจะขอนำเสนอลักษณะโครงสร้างของเนื้อหาที่สำคัญๆ 3 ลักษณะดังนี้
.....1. เนื้อหาที่มีลักษณะแบบระนาบ เนื้อหาย่อยๆแต่ละเนื้อหามีความสำคัญเท่าๆ กัน และสามารถเรียนเนื้อหาใดก่อนก็ได้โครงสร้างของเนื้อหาจึงอาจเขียนได้ดังแผนภูมิต่อไปนี้
โครงสร้างของเนื้อหา
.....เนื้อหาบทเรียนที่เราจะนำมาออกแบบการสอนแต่ละเนื้อหาจะมีโครงสร้างแตกต่างกัน ซึ่งลักษณะโครงสร้างของเนื้อหานี้
จะมีส่วนสำคัญที่กำหนดให้เส้นทางการจัดการเรียนรู้ดำเนินไปในรูปแบบใดในที่นี้ผู้จัดทำจะขอนำเสนอลักษณะโครงสร้างของเนื้อหาที่สำคัญๆ 3 ลักษณะดังนี้
.....1. เนื้อหาที่มีลักษณะแบบระนาบ เนื้อหาย่อยๆแต่ละเนื้อหามีความสำคัญเท่าๆ กัน และสามารถเรียนเนื้อหาใดก่อนก็ได้โครงสร้างของเนื้อหาจึงอาจเขียนได้ดังแผนภูมิต่อไปนี้
.......2.6 แบบมีห่วงกรอบช่วยเสริม (Remedial loops) มีลักษณะคล้ายกับแบบกรอบเสริมเชิงเดี่ยว ต่างกันที่ กรอบช่วยเสริมมีหลายกรอบ ประกอบกันเป็นชุด หลาย ๆ กรอบ ซึ่งเป็นกรอบที่ปูพื้นฐานความรู้ ข้อมูลให้ผู้เรียน เมื่อผู้เรียนได้รับการซ่อมเสริมแล้ว จะส่งกลับมายังกรอบเนื้อหาเดิม เพื่อให้ผู้เรียนใช้ความรู้จากการซ่อมเสริม มาศึกษากรอบเนื้อหาเดิมนั้น และตอบคำ ถามใหม่อีกครั้ง ก่อนจะไปเรียนกรอบเนื้อหาต่อไป โครงสร้างแบบนี้เหมาะสมกับบทเรียนประเภทติวเตอร์ และแบบฝึกหัด
........2.7 แบบแตกกิ่งคู่ (Branching frame sequence) บทเรียนลักษณะนี้ประกอบด้วยกรอบเนื้อหา กรอบคำถาม และกรอบซ่อมเสริม เมื่อผู้เรียน เรียนรู้เนื้อหาจะไปสู่กรอบคำถามซึ่งมีคำตอบให้เลือกตอบหลายตัวเลือกถ้าผู้เรียนตอบถูก จะไปเรียนกรอบต่อไป ถ้าตอบผิดในตัวเลือกที่ 1 จะไปสู่กรอบซ่อมเสริมสำหรับตัวเลือกที่ 1 ถ้าตอบผิดในตัวเลือกที่ 2 จะไปสู่กรอบซ่อมเสริมสำหรับตัวเลือกที่ 2 หากมีหลายตัวเลือกจะมีกรอบซ่อมเสริมหลายกรอบ เมื่อผู้เรียน เรียนกรอบซ่อมเสริมแล้วต้องกลับไปเรียน ในกรอบเนื้อหาใหม่ และทำกรอบทดสอบอีกครั้ง จนกว่าจะตอบถูก จึงจะไปสู่กรอบเนื้อหาต่อไป โครงสร้างลักษณะนี้เหมากับบทเรียนประเภทติวเตอร์ แบบฝึกหัด สถานการณ์จำลอง
.........2.8 แบบแตกกิ่งประกอบ (Compound branches) มีลักษณะที่เหมาะกับบทเรียนประเภทใช้วินิจฉัยข้อบกพร่องของผู้เรียน หรือสถานการณ์แก้ปัญหา คำถามจะอยู่ในลักษณะใช่ ไม่ใช่ จากคำตอบ ใช่ หรือไม่ใช่ที่ผู้เรียนเลือกตอบ จะพาผู้เรียนไปยังกรอบคำถาม หรือ เนื้อหากรอบต่อไปตามพื้นฐานความรู้ของผู้เรียนแต่ละคน
ประสิทธิภาพ สามารถนำพานักเรียนให้บรรลุมาตรฐาน/ตัวชี้วัดได้ การออกแบบหน่วยการเรียนรู้อิงมาตรฐานตามแนว Backward Design ของ Wiggins และ McTighe ที่เชื่อว่าจะทำให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งได้ จึงมีอยู่ 3 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 การกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้
เป้าหมายของหน่วยการเรียนรู้ คือ มาตรฐานและตัวชี้วัด ซึ่งแต่ละหน่วยการเรียนรู้จะมีมาตรฐาน/ตัวชี้วัดตั้งแต่ 1 ตัวชี้วัดขึ้นไป แต่ไม่ควรมากเกินไป ควรมีตัวชี้วัดที่หลากหลายทั้งมาตรฐานที่มีลักษณะของเนื้อหา และกระบวนการเรียนรู้ เพื่อช่วยให้การจัดการเรียนการสอนมีความหมายต่อนักเรียน สามารถสร้างความคิดรวบยอดได้ ซึ่งมาตรฐาน/ตัวชี้วัดอาจเป็นกลุ่มเดียวกันหรือต่างกลุ่มสาระได้
เมื่อครูผู้สอนเลือกมาตรฐาน/ตัวชี้วัดที่จะสอนในหน่วยการเรียนรู้ได้แล้ว ก็แสดงว่าได้กำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ของหน่วยนั้นแล้ว ต่อมาครูต้องวิเคราะห์หาคำสำคัญในตัวชี้วัดว่าต้องการให้นักเรียนรู้อะไร ทำอะไรได้ แล้วทำการสังเคราะห์เป็นแก่นความรู้หรือเรียกว่า Concept ของหน่วยนั้นในลักษณะที่นักเรียนเข้าใจ
องค์ประกอบของเป้าหมายการเรียนรู้ ได้แก่ ความคิดรวบยอด (สาระสำคัญ) มาตรฐาน/ตัวชี้วัด สาระการเรียนรู้ สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และคุณลักษณะอันพึงประสงค์
ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดหลักฐาน/ร่องรอยการเรียนรู้
การกำหนดหลักฐาน/ร่องรอยการเรียนรู้ ก็คือกำหนดชิ้นงาน/ภาระงานและการประเมิน ซึ่งครูผู้สอนจะต้องนำมาตรฐาน/ตัวชี้วัด จากเป้าหมายการเรียนรู้ในหน่วยมากำหนดชิ้นงาน/ภาระงานที่จะให้นักเรียนได้แสดงออกตามเป้าหมายที่กำหนด หรืออาจให้นักเรียนร่วมกำหนดขึ้นได้ ซึ่งต้องสอดคล้องกับมาตรฐาน/ตัวชี้วัด ครูผู้สอนต้องทำการประเมินว่าชิ้นงาน/ภาระงานที่ผู้เรียนแสดงออกมีคุณภาพหรือไม่ โดยกำหนดประเด็นการประเมินเป็นมิติ หรือเป็นระดับคุณภาพว่าผู้เรียนมีคุณภาพอยู่ในระดับใด
ครูควรทำความเข้าใจชิ้นงาน/ภาระงานก่อนว่าเป็นอย่างไร ซึ่งครูมักสับสนเป็นประจำ
ชิ้นงาน มีลักษณะเป็นผลงานที่ผู้เรียนแสดงออกมาโดยผ่านงานเขียนต่าง ๆ เช่น คัดลายมือ เรียงความ จดหมาย บทความ สารคดี โคลง/กลอน คำขวัญ บรรยายภาพ เขียนสร้างสรรค์ รายงาน บันทึกการทดลอง หรือบันทึกต่าง ๆ หนังสือเล่มเล็ก แผนภูมิ แผนภาพ ภาพวาด กราฟ ตาราง ประติมากรรม สิ่งประดิษฐ์(งานประดิษฐ์) งานแสดงนิทรรศการ หุ่นจำลอง แฟ้มสะสมงาน เป็นต้น
ภาระงาน มีลักษณะเป็นการแสดงออกหรือพฤติกรรมของผู้เรียนที่แสดงออกมาโดยผ่านการพูด การแสดง การเล่น เช่น การพูดในลักษณะในโอกาสต่างๆ การรายงานปากเปล่า การนำเสนอ การอภิปราย การอ่าน การกล่าวรายงาน โต้วาที การร้องเพลง เล่นดนตรี การแสดงละคร แสดงนาฏศิลป์ การเคลื่อนไหวร่างกาย การเล่นกีฬา การแสดงบทบาทสมมุติ การทดลอง เป็นต้น
และยังมีงานในลักษณะผสมผสานกันระหว่างชิ้นงาน/ภาระงาน เช่น โครงงาน การทดลอง การสาธิต ละคร วีดิทัศน์ เป็นต้น
การประเมิน เป็นการตัดสินว่าเมื่อผู้เรียนสร้างชิ้นงาน/ภาระงานในลักษณะที่เกิดจากการปฏิบัติกิจกรรม (Performance tasks) ในขณะเรียนรู้ว่าชิ้นงาน/ภาระงานนั้นมีคุณภาพหรือไม่ การประเมินดังกล่าวจึงต้องใช้เกณฑ์ที่กำหนดตามธรรมชาติของงานที่ปฏิบัติจึงเรียกว่า เกณฑ์การประเมิน หรือ ระดับคุณภาพ (rubric) ซึ่งมีลักษณะดังนี้
มีเกณฑ์ประเมินที่เชื่อมโยงกับตัวชี้วัดที่กำหนดในหน่วยการเรียนรู้
อธิบายลักษณะชิ้นงานหรือภารงานที่คาดหวังได้อย่างชัดเจน
มีคำอธิบายคุณภาพชิ้นงานที่ชัดเจนและบ่งบอกคุณภาพงานในแต่ละระดับ
ทุกครั้งที่จบการเรียนรู้ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ ครูผู้สอนจะต้องมีการบันทึกของตนเองว่า มี
มาตรฐาน/ตัวชี้วัดในรายวิชาที่ครูสอนนั้น มีตัวชี้วัดใดบ้างที่สอนแล้วหรือยังไม่ได้สอน และถ้าสอนแล้วมีตัวชี้วัดใดบ้างที่นักเรียนผ่านหรือไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ครูผู้สอนก็จะสามารถควบคุมหรือมองเห็นภาพการเรียนการสอนในชั้นเรียนได้ชัดเจนขึ้นว่า นักเรียนในชั้นมีความสามารถหรือจะต้องพัฒนาในตัวชี้วัดใดเพิ่มเติม
ขั้นตอนที่ 3 การกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้
กิจกรรมการเรียนรู้ ถือว่าเป็นหัวใจสำคัญที่จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนา ทำให้ผู้เรียนมีความรู้และทักษะตามมาตรฐานและตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในแต่ละหน่วยการเรียนรู้ รวมทั้งช่วยในการปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดกับผู้เรียน ซึ่งครูผู้สอนอาจจัดขั้นตอนการเรียนการสอนตามรูปแบบทฤษฎี วิธีสอน กระบวนการเรียนรู้ เทคนิคการสอน เทคนิคการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลายได้ตามความประสงค์ ถ้าวิธีการดังกล่าวช่วยให้ผู้เรียนบรรลุมาตรฐานและตัวชี้วัดที่กำหนดได้ หลักสำคัญในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ครูผู้สอนพึงคำนึง คือ
เป็นกิจกรรมที่พัฒนาผู้เรียนไปสู่มาตรฐานและตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ในหน่วยการเรียนรู้
เป็นกิจกรรมที่นำไปสู่การสร้างชิ้นงาน/ภารงาน ที่แสดงถึงการบรรลุมาตรฐานและ
ตัวชี้วัดของผู้เรียน
3) สอดคล้องกับความสามารถและธรรมชาติของผู้เรียนเป็นกลุ่ม หรือรายบุคคล หรือนักเรียนพิเศษ
4) เป็นกิจกรรมที่ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการออกแบบและจัดกิจกรรม
5) กิจกรรมควรมีความหลากหลาย เหมาะสมกับนักเรียนและเนื้อหาสาระ
6) มีการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์
7) ควรจัดกิจกรรมที่เชื่อมโยงไปสู่ชีวิตจริง/ ท้องถิ่น
8) เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง
9) ช่วยให้ผู้เรียนสามารถเข้าสู่แหล่งเรียนรู้และเครือข่ายการเรียน
10) ใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้ที่กระตุ้นการเรียนรู้ให้กับนักเรียน
11) การสรุปความรู้ สร้างความรู้และขยายความรู้ได้ด้วยตนเอง
เมื่อครูผู้สอนคิดและออกแบบการเรียนรู้ครบทั้ง 3 ขั้นตอนแล้ว ครูจึงต้องนำสิ่งที่คิดออกแบบไว้แล้วนำมาเขียนเรียบเรียงเป็นเอกสารหน่วยการเรียนรู้ที่ชัดเจน เพื่อสะดวกต่อการนำไปใช้ ซึ่งมีลักษณะสำคัญขององค์ประกอบหน่วยการเรียนรู้ ดังนี้
ชื่อหน่วยการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด
สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด
สาระการเรียนรู้
-สาระการเรียนรู้แกนกลาง
-สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น (ถ้ามี)
5) สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
6) คุณลักษณะอันพึงประสงค์
7) ชิ้นงาน/ภาระงาน
8) การวัดและประเมินผล
9) กิจกรรมการเรียนรู้
10) เวลาเรียน/จำนวนชั่วโมง